อ่านละครเรื่อง ทองเนื้อเก้า ตอนอวสาน(1) วันที่ 15 พ.ย. 56

อ่านละครเรื่อง ทองเนื้อเก้า ตอนอวสาน(1) วันที่ 15 พ.ย. 56

ทางด้านจิตรายังนั่งก้มหน้านิ่ง ไม่สบตาใครเหมือนเคย เทวีนั่งใกล้กับสันต์
"อาว่าถึงเวลาที่หนูต้องตัดสินใจแล้วว่าจะเรียนอะไรต่อ" เทวีบอก
"คิดให้ดี ๆ จิตรา เรียนอะไรที่เป็นอาชีพได้...ทำมาหากินได้ น่าจะดีที่สุด" สันต์บอก
"หนูไม่รู้"
ปั้นถาม

"ก็ไหนเอ็งว่าครูเอ็งเขาว่า เอ็งน่าจะเรียนพยาบาลไง"
"หนูไม่รู้...หนูว่าหนูคงทนเรียนไม่ได้"


"ทำไมล่ะจิตรา"
"หนูเกลียดคนป่วย บ้านนี้มีแต่คนป่วย ไหนจะแม่ ไหนจะตา พี่อ้อยอีก หนูเกลียด"
พระวันเฉลิมนิ่งอึ้ง
"แม่นอนครางเป็นบ้า น้ำเหลืองเต็มตัว กลิ่นน้ำเหลือง กลิ่นขี้ กลิ่นเยี่ยว มันติดจมูกหนูมาจนถึงวันนี้ ถ้าหนูต้องเรียนพยาบาล หนูคงเป็นพยาบาลที่แย่ที่สุด"
พระวันเฉลิมมองน้องอย่างเห็นใจ ปั้นเอื้อมมือมาลูบหลังจิตราปลอบใจ
"งั้นเรียนครูดีไหมจิตรา" เทวีถาม
"หนูไม่รู้"
ทุกคนเหมือนจะจนใจ ไม่รู้จะโน้มน้าวยังไงแล้ว
พระวันเฉลิมบอก
"โลกใบนี้มีสิ่งที่ไม่รู้อีกมากมายมหาศาล หลายสิ่งอยู่ไกลตัวเราเกินไป แต่สิ่งที่อยู่ใกล้ อยู่รอบๆตัวเรามันจะเกิดจากความขี้เกียจที่จะรู้ ทุกสิ่งบนโลกใบนี้ สอนให้เรารู้ได้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่มีใครสอนให้เรารู้ได้คือ ตัวเราเอง หนูพยายามที่จะไม่…. พยายามที่จะไม่เข้าใจตัวเอง"
"หนูเกลียดแม่"
"หนูเกลียดแม่ เพราะแม่เป็นแบบนั้น เพราะเพื่อนล้อ หนูไม่ได้เกลียดแม่จริง เพราะตอนแม่ป่วยหนูยังเด็ก หนูจำอะไรไม่ได้หรอก หนูเป็นทุกข์เพราะยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เพื่อนล้อต่างหากล่ะ"
"หนูควรจะทำอย่างไรค่ะ"
"ที่เมืองเมืองนึง มีลิงเยอะมาก ลิงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับชาวบ้านเพราะชอบขโมยผลไม้ในสวนพอจะไล่จับลิง ลิงก็ปีนต้นไม้หนีได้อย่างรวดเร็ว ชาวบ้านจึงคิดวิธีจับลิง โดยใช้กล่องไม้ ซึ่งมีฝา เจาะรูเล็กๆ พอให้ลิงสอดมือเข้าไปได้ ในกล่องมีถั่ว ซึ่งเป็นของโปรดของลิงวางเป็นเหยื่อล่อไว้ ลิงพอมาที่สวน เห็นถั่วในกล่อง เอามือหยิบถั่ว แต่พอเอามือออกมาก็ติดอยู่ในกล่อง เพราะกำมือของลิงที่กำถั่วไว้ใหญ่กว่ารูที่ฝากล่อง ลิงพยายามดึงมือเท่าไหร่ก็ดึงไม่ออก ชาวบ้านก็เข้ามาจับ ลิงจะหนีก็หนีไม่ได้ เพราะมีมือข้างเดียว หนูว่าลิงจะหนีได้ต้องทำอย่างไร"
"คลายมือที่กำถั่วออกก็หนีได้แล้วค่ะ"
"เพียงแค่คลายสิ่งที่ยึดติดออกซะบ้าง ปัญหาก็จะคลี่คลาย เค้าเรียกว่าปล่อยวาง บ่อยครั้งการปล่อยวางไม่เพียงเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาเท่านั้น หากเป็นทางออกจากปัญหาเลยทีเดียว"
"เรียนครูก็ดีนะจิตรา ครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติเพราะต้องแบกภาระในการอบรมสั่งสอนเด็ก ๆ ที่เป็นอนาคตของชาติให้เป็นคนดีของสังคม เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละเพื่อคนอื่นไม่แพ้อาชีพอื่นหรอก เรียนครูดีนะจิตรา ครูจะสอนให้หลุดพ้นจากคำว่าไม่รู้ .เหมือนหนูไง"
จิตราที่ค่อย ๆ เงยหน้าขึ้นมองพระหลวงพี่อย่างเชื่อฟัง

สีหน้าพระวันเฉลิมเต็มไปด้วยความเมตตา
ภายในบ้านยายแลที่เหน่งเข้ามาอยู่ เริ่มทำกิจการรองเท้า เหน่งเอารองเท้ามาวาง ปานเดินเข้ามาค่อยๆเปิดประตู ชะโงกมอง เหน่งเดินมาเห็น
"มาหาใครครับ"
ปานมองรองเท้า
"ใส่ไม่ได้หรอกครับ มันยังทำไม่เสร็จ"
"บ้านยัยแลใช่มั๊ย"
"รู้จักยายด้วยเหรอครับ"
ปานมองอ้อยกับเหน่ง
"ยายตายแล้วครับ ตาตายก่อน แล้วยายก็ตายตาม"
"แม่ พ่อ"
เหน่งงง
"พี่เป็นใครเนี่ย"

พระวันเฉลิมดีใจที่ปานพ้นโทษออกมา
"น้าปานเป็นน้องแม่น่ะเหน่ง สวัสดีโยมน้าปาน"
"ไอ้วัน นี่เอ็งหรอวะ นี่เอ็งบวชไม่สึกเลยหรอวะเนี่ย"
"พูดกับพระอยู่นะน้า" เหน่งบอก
ปานยกมือไหว้
"เออ ขอโทษครับ อยู่คุกมานาน อย่าถือสาคนพึ่งออกจากคุกเลยครับ"
"ไม่เป็นไรหรอกโยมน้า เหน่งเป็นน้องของอาตมาเป็นลูกของโยมแม่อีกคน โยมแม่เสียชีวิตแล้วครับ โยมน้าปาน"
"อะไรมันเปลี่ยนไปเยอะเลยนะ"
"เกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องของธรรมชาติ ไม่มีใครเอาชนะธรรมชาติได้หรอกโยมน้า ทุกอย่างเป็นไปตามกฎแห่งกรรม"
"น้าทำกรรมไว้กับคนอื่นเยอะ ชาตินี้คงชดใช้ไม่หมด ออกจากคุกมา 3 เดือนกว่าแล้ว ไม่กล้ากลับบ้าน หางานทำแต่พอเค้ารู้ว่าออกจากคุกก็ไม่รับ เคยคิดจะไปปล้นเค้าอีก พอนึกถึงความโหดร้ายที่เคยเจอในคุก ก็ทำให้ขยาดกลัว ไม่กล้าละ เลยตัดใจกลับมาบ้าน ว่าจะมาพึ่งพ่อพึ่งแม่ แกก็ไม่อยู่แล้ว ไม่รู้จะทำยังไง"
"โยมน้าปานได้เข้าใจถึงความกลัวที่จะทำบาปแล้ว สาธุ เหน่ง เห็นบ่นว่างานเยอะทำไม่ทันใช่มั้ย"
"ครับหลวงพี่"
พระยิ้มมอง ปานยิ้ม
"ขอบใจนะ เออ แล้วนี่พี่ลำยงกับพี่ลำดวนไปอยู่ไหนล่ะ"

พระเดินนำหน้ามา ลำดวน ลำยง ชุด ขายของอยู่
"โยมน้าครับ มีคนมาหา"
ลำยงเงยหน้าจำน้องชายได้

"ไอ้ปาน"
บนกุฏิหลวงตาปิ่น เทวีถามพระวันเฉลิม
"ท่านจะไม่รอให้มหาวิทยาลัยทางโน้นตอบรับกลับมาก่อน ค่อยเดินทางไปเหรอเจ้าคะ"
"อาตมาคงไม่รอหรอกโยม ในเมื่อตั้งใจจะไปแล้ว ถึงทางมหาลัย เขาจะไม่รับอาตมาเข้าเรียนก็ไม่เป็นไร อย่างน้อย อาตมาก็ขอให้ได้ไปเห็นกับตาว่าประเทศอินเดียเป็นยังไง"
สันต์หยิบซองปัจจัยขึ้นมาจบจะถวาย
"พ่อขอถวายปัจจัยช่วยค่าใช้จ่ายท่านนะครับ"
พระทอดผ้าลงรับปัจจัย
"ค่าใช้จ่ายที่โน่นคงไม่สูงมาก ผมกะว่าลงเครื่องบินที่กัลกัตตาแล้วจะใช้เดินเท้าเป็นหลัก ผมอยากเห็น อยากสัมผัสผู้คนให้ได้มากที่สุด"
"ท่านต้องดูแลตัวเองให้ดีๆนะครับ"
"โยมพ่อไม่ต้องห่วงหรอกครับ ผมรู้ว่าการเดินทางครั้งนี้ เป้าหมายของผมคืออะไร"

บ้านยัยแลดูสะอาดสะอ้านขึ้น เพราะกลายเป็น โรงงานขนาดเล็ก เย็บเครื่องหนัง มีสินค้าบางส่วนแขวนโชว์ขายหน้าร้านด้วย ปานเป็นลูกมือช่วยเหน่งอย่างขมีขมัน พระวันเฉลิมยื่นเงินปึกนึงให้เหน่ง
"เงินอะไรครับ"
"หลวงพี่ให้เหน่งไว้ทำทุน จะได้ซื้อจักรเย็บตัวใหม่ ซื้อเครื่องมือ ซื้อหนังมาเย็บเอง ไม่ต้องรับจ้างเถ้าแก่ฮวดเขาอย่างเดียว เหน่งเป็นคนมีฝีมือ น่าจะสร้างอะไร ๆ เป็นของตัวเองได้แล้ว"
"ผมเกรงใจครับ หลวงพี่ นี่มันน้ำพักน้ำแรงของหลวงพี่"
"รับไปเถอะ หลวงพี่ไม่ได้เดือดร้อนอะไร หลวงพี่อยากขอบใจเหน่งด้วยซ้ำไป ที่อย่างน้อยก็รับน้าปานมาอยู่ด้วย ไม่อย่างนั้นแกคงเคว้งคว้าง"
เหน่งไหว้พระวันเฉลิมและรับเงินมา
"ขอบคุณครับหลวงพี่วัน"
"วันที่เหน่งประสบความสำเร็จนั่นแหละ จะเป็นวันที่หลวงพี่มีความสุขที่สุด สร้างตัวเองให้แข็งแรง วันข้างหน้าเหน่งจะได้เป็นที่พึ่งของคนอื่นต่อไป"

ยายวิมลพาสมฤดีมาถวายสังฆทานที่วัด วิมล สมฤดีกราบพระวันเฉลิมที่นั่งมอง
"หนูสมเรียนจบแล้วค่ะ มาถึงก็รีบไปรายงานตัวที่มหาวิทยาลัยเลย" วิมลบอก
"ดิฉันได้ทุนจากมหาวิทยาลัยไปเรียนต่อ เลยต้องกลับมาใช้ทุนที่นี่ล่ะค่ะ วันแรกที่ต้องไปรายงานตัว แต่พอดีอาจารย์ที่นั่นต้องย้ายออก เลยได้สอนแทนตั้งแต่วันแรก เลยยังไม่ได้มากราบท่านสักที"
"บ่นทุกวันว่าอยากมาหาท่าน เนี่ยก็เพิ่งมีโอกาส"
"ครูเป็นอาชีพของคนมีบุญนะโยม สอนคนได้แต่บุญ คุณโยมสมฤดีคอยทำบุญตักบาตรตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว ต้องเป็นครูที่ดีได้แน่ อาตมาอนุโมทนาสาธุด้วย"
"ที่ว่าท่านเขียนหนังสืออยู่ เสร็จหรือยังคะ" วิมลถาม
"เสร็จแล้ว อาตมาส่งให้ทางสำนักพิมพ์พิจารณา เขาตีกลับมา อย่างว่าเค้าไม่แน่ใจว่า จะมีคนซื้อหรือเปล่า"
"ใจร้ายจัง"
"ตั้งแต่เด็ก อาตมาโตด้วยนิทานของหลวงตา อยู่อย่างมีสติและรู้ตัวได้ เพราะนิทานของหลวงตากลั่นเกลาจิตใจเอาไว้ อาตมาเลยเขียนนิทานที่สอดแทรกธรรมะ คำสอนของศาสดา พระพุทธเจ้าที่อ่านเข้าใจง่าย ให้เด็กได้อ่านกัน"
"สาธุ เป็นบุญของเด็ก ๆ ที่จะได้อ่าน"

"ดิฉันรู้จักโรงพิมพ์ที่พิมพ์ตำราให้ที่มหาวิทยาลัย ถ้าเอางานไปให้เขาดู เขาน่าจะสนใจนะคะ"
พระวันเฉลิมมาบอกเรื่องเขียนหนังสือกับสันต์และเทวี

"โรงพิมพ์พวกนี้ เค้าไม่สนใจเรื่องว่าจะขายได้ไม่ได้ ถ้าเป็นตำราหรือหนังสือไขความรู้ เค้าพิมพ์ให้หมดละค่ะ" เทวีบอก
"อย่างไรเด็กๆที่อ่านหนังสือ อาจจะเป็นแสงสว่างเล็กๆให้กับเค้าได้ เวลาที่เจออุปสรรค จะได้มีทางออก"
"หนูสมก็ได้บุญไปด้วยนะ" สันต์บอก
"พิมพ์แล้วย่าขออ่านเล่มนะคะ คนแก่อ่านได้รึป่าว" ปั้นว่า
"ได้ครับโยมย่า อ้อ...โยมน้าเทวีครับ โยมสมฤดีชวนผมไปสอนวิชาปรัชญาที่มหาวิทยาลัย ผมควรไปมั้ยครับ"
"ก็ดีนะคะ"

ทางเดินมหาวิทยาลัย วันใหม่ พระวันเฉลิมขอบคุณสมฤดีที่ชวนมาเป็นอาจารย์ พระวันเฉลิมเริ่มต้นสอนหนังสือนักศึกษาปริญญาตรี และเย็นวันนั้นเอง ...
อภิชาติถูกต่อยล้มลงกับพื้นอย่างแรง อภิชาติในอาการเมานิดๆ บ้าเลือดลุกขึ้นมาได้ก็โถมเข้าใส่คู่กรณีอย่างบ้าคลั่งอย่างมวยวัด ทั้งสองฝ่ายซัดกันนัวเนีย สาว ๆ ตกใจถอยหนีกันกระเจิง คนอื่น ๆ ไม่มีใครคิดจะขัดขวางการทะเลาะเบาะแว้ง
พระวันเฉลิมผ่านมาเห็นเหตุการณ์พอดี รีบเข้ามา
"หยุดเดี๋ยวนี้ บอกให้หยุด ใครก็ได้ไปตามเจ้าหน้าที่มา"
คู่กรณีผละออกจากอภิชาตที่นอนคลุกฝุ่น หมดสภาพ
"พวกคุณ นักศึกษาปริญญาตรีใช่ไหม"
แต่ละคนหน้าจ๋อยยอมรับโดยปริยาย
"น่าละอายที่ใช้กำลังตัดสินปัญหา ไม่สมกับเป็นผู้ได้รับการศึกษาเลย"
คู่กรณีบอก
"ไอ้หมอนั่นมันเป็นคนเริ่มก่อน ถ้าท่านจะตำหนิก็ต้องตำหนิมันโน่นครับ"
อภิชาติเสื้อแสงหลุดลุ่ย กระดุมเสื้อขาด เนื้อตัวมอมแมมไม่แพ้แผลบนหน้า ลุกขึ้นทุลักทุเล แล้วเดินเซออกไป วันเฉลิมมองตามอภิชาติ
นักศึกษาหญิงบอก
"เขาเมา เธอไปถือสาทำไม"
"หมั่นไส้มันมานานแล้ว มันนึกว่ามันเป็นลูกคนรวยแล้วไง"
พระวันเฉลิมเห็นกระเป๋าตังค์ตกอยู่ที่พื้น จึงเดินไปเก็บขึ้นมา
"ของใคร"
"ไม่ใช่ของผม ของไอ้บ้านั่นแหละ"

อ่านละครเรื่อง ทองเนื้อเก้า ตอนอวสาน(1) วันที่ 15 พ.ย. 56

ละครทองเนื้อเก้า บทประพันธ์โดย : โบตั๋น
ละครทองเนื้อเก้า บทโทรทัศน์โดย : ยิ่งยศ ปัญญา
ละครทองเนื้อเก้า กำกับการแสดงโดย : พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ละครทองเนื้อเก้า ผลิตโดย : บริษัท แอค-อาร์ต เจเนเรชั่น จำกัด
ละครทองเนื้อเก้า ควบคุมการผลิตโดย : ธัญญา โสภณ
ละครทองเนื้อเก้า ละครแนว : ดราม่าเข้มข้น
ละครทองเนื้อเก้า ออกอากาศทุกวันจันทร์ - อังคาร เวลา 20.25 น. ทางไทยทีวีสีช่อง 3
ที่มา เดลินิวส์